เช่าพานขันหมาก ช่วยประหยัดเวลาจัดเตรียมได้มาก

ประเพณีแต่งงานของคนไทยสิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้ คือ ชุดขันหมาก ที่เจ้าบ่าวจะนำไปสู่ขอเจ้าสาว การยกขันหมากสู่ขอเป็นพิธีที่จัดขึ้นเพื่อเป็นการเคารพผู้ใหญ่ฝ่ายเจ้าสาว เป็นการบอกกล่าวขออนุญาตผู้ใหญ่ฝ่ายเจ้าสาวว่าจะสู่ขอไปเป็นภรรยา

เช่าพานขันหมาก

ขันหมากนั้นมีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย โดยสมเด็จพระร่วงเจ้าได้ทรงบัญญัติไว้ว่า “ถ้าชาวไทยทำการรับแขกเป็นสนามใหญ่มีการอาวาห์มงคลหรือวิวาห์มงคลแล้ว ให้ร้อยกรองดอกไม้เป็นรูปพานขันหมาก และให้เรียกว่า พานขันหมาก”

เช่าพานขันหมากจะประกอบไปด้วย พานเชิญขันหมาก พานสินสอดทองหมั้น พานแหวน พานขนมผลไม้ และพานต้นกล้วย ต้นอ้อย จำนวนของพานขันหมากที่ใช้สำหรับงานแต่งงานในปัจจุบันจะแปรผันตามรูปแบบการจัดขบวน

การจัดขันหมากแบบชาววังที่นิยมทำกันมี 2 แบบ คือ แบบใช้พลูจีบ และแบบที่ไม่ใช้พลูจีบ ซึ่งทั้ง 2 แบบจะใส่หมากพลูเป็นคู่ โดยใส่ 4 คู่ หรือ 8 คู่ นำมาเรียงให้สวยงาม สาเหตุที่ต้องใส่หมากพลู ก็เป็นเพราะว่าคนสมัยก่อนนิยมกินหมากกันจึงนิยมใช้หมากพลูเป็นการต้อนรับ เมื่อมีแขกมาเยี่ยมเยือนแต่ละบ้านก็จะมีเชี่ยนหมากไว้รับรองแขก จึงเป็นที่มากของการจัดขันหมากในการไปสู่ขอเพื่อแสดงไมตรี

ส่วนดอกไม้ที่ใส่ในพานขันหมาก จะเป็นดอกไม้มงคล เช่น ดอกรัก หมายถึงความรักที่เหนียวแน่น ดอกบานไม่รู้โรย หมายถึง ความรักที่ยั่งยืน ไม่จืดจาง ดอกดาวเรือง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรืองของบ่าวสาว

และมีของอื่นๆ ที่ใส่ในพานขันหมากอีก เช่น ใบเงิน ใบทอง ใบนาค เชื่อว่าจะทำให้มีเงินมีทอง ข้าวเปลือก ใส่ไว้เป็นพันธุ์ข้าวเพื่อเป็นทุนเริ่มชีวิตครอบครัวเพราะสมัยก่อนคนไทยปลูกข้าวเป็นหลัก นอกจากนี้ยังใส่งา ถั่วเขียว ถั่วทอง ถุงเงิน ถุงทองไปอีกด้วย

จะเห็นว่ากว่าจะจัดขบวนขันหมากไปสู่ขอได้มีขั้นตอนค่อนข้างเยอะ ปัจจุบันอาจจะลดทอนปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัย แต่อย่างไรก็เป็นการรักษาประเพณีที่ปฏิบัติกันตามกันมา และก็เป็นประเพณีที่สวยงามเป็นการให้เกียรติผู้ใหญ่ทางฝ่ายหญิง เพื่อรักษาไมตรีจิตที่ดีต่อกันไว้ให้ยั่งยืนยาวนานด้วยค่ะ