ธุรกิจการตลาด มีความหมายมากกว่าที่คิด !

ธุรกิจการตลาด

ธุรกิจการตลาด ในมุมมองของคนทั่วไปจะเห็นและคิดว่าเป็นเรื่องของการขายผลิตภัณฑ์หรือบริการแก่ลูกค้าให้ได้รับค่าตอบแทนกลับมาแต่ในความเป็นจริงแล้วธุรกิจการตลาดนั้นมีความหมายมากกว่าที่คิด เพราะธุรกิจการตลาดนี้ไม่ได้เป็นเพียงการขายผลิตภัณฑ์หรือบริการลูกค้าแล้วจบไป แต่ในความเป็นจริงการตลาดเองก็ต้องมีการสร้างสัมพันธ์ คิดวิเคราะห์ หรือก็คือการวิจัยการตลาด ทำไม่ต้องมีการสร้างสัมพันธ์ คิดวิเคราะห์ หรือการวิจัยตลาด การทำธุรกิจต่าง ๆ เองก็เหมือนจะมีพื้นฐานที่จะต้องรู้เรื่องเกี่ยวกับการตลาด เศรษฐกิจของประเทศในปัจจุบัน เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการผลิตสินค้าให้ออกมามีคุณภาพไม่มีข้อเสีย หรือการบริการลูกค้าให้พึงพอใจในการบริการและทำให้ได้ฐานลูกค้าเข้ามาพร้อมที่จะใช้บริการจากธุรกิจที่มีการวิจัยการตลาดแล้ว ซึ่งในแนวคิดของยุคสมัยก่อนในเรื่องของการตลาดจะมีเพียงแค่การเป็นระบบขั้นตอนโดยเริ่มจากลำดับต่อไปนี้

  1. การผลิต – ผลิตสินค้าหรือบริการ ที่นึกถึงต้นทุนการผลิตที่ใช้เพียงจำนวนน้อยแต่ให้ได้คุณภาพสินค้าที่มีคุณภาพ หรือภาพลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ต่อสายตาลูกค้าดูมีคุณค่า
  2. ผลิตภัณฑ์ – ผลิตภัณฑ์ที่ทำการผลิตออกมาแล้วต้องมีคุณภาพสูงทำให้ลูกค้าเกิดความต้องการที่จะซื้อหรือใช้บริการ
  3. การขาย – เมื่อมีผลผลิตภัณฑ์ออกมาก็ต้องมีการส่งขายออกให้ลูกค้าต่อ โดยหลักการคิดคือขายสินค้าให้หมดก่อนที่จะมีสินค้าเพิ่มเข้ามา โดยไม่ได้สนถึงความต้องการของลูกค้าว่าต้องการยังไง เพียงแค่ต้องการขายออกไปให้สินค้าหมดจากคลังสินค้าออกไป
  4. การตลาด – ซึ่งหลังจากการขายผลิตภัณฑ์ให้แก่ลูกค้าไปก็ต้องมีการทำวิจัยการตลาดในเรื่องของลูกค้ามีปฏิกิริยากับตัวผลิตภัณฑ์ยังไง และจึงนำผลวิจัยดังกล่าวมาพัฒนาตัวผลิตภัณฑ์เพื่อให้ตรงความต้องการของลูกค้า หรืออาจจะมีการจัดโปรโมชั่นเพื่อที่จะขายสินค้าออกไปให้แก่ลูกค้า
  5. การตลาดโดยรวม – นำหลักการคิดและวิจัยทั้งหมดมาวิเคราะห์ให้เห็นภาพออกมา ว่าสิ่งไหนเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้การตลาดนี้มีการขับเคลื่อนต่อไป หรือจะเป็นแนวทางการตลาดให้คิดแผนปรับปรุงให้มีผลสำเร็จขึ้นมา

แต่ในปัจจุบันได้มีการปรับแนวคิดเกี่ยวกับการตลาดใหม่ที่มีเทคโนโลยีมามีส่วนเกี่ยวข้องและช่วยการตลาดให้มีรูปร่างและประสิทธิภาพมากขึ้นโดยลำดับใหม่ได้ดังนี้

  1. การสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับตัวลูกค้า – หรือให้เรียกว่าการสร้างสัมพันธ์ที่ดีให้แก่ลูกค้า โดยคิดแค่ว่าให้ลูกค้าได้รับผลิตภัณฑ์ หรือการบริการที่ดีที่สุด
  2. การสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีภายในองค์กร/บริษัท – การสร้างสัมพันธ์ภายในธุรกิจก็เป็นสิ่งจำเป็นในการที่ทำให้ธุรกิจมีแรงขับเคลื่อนต่อไปได้ เพราะถ้าหากไม่มีความสัมพันธ์ภายในธุรกิจตั้งแต่ต้น ก็อาจจะทำให้ไม่มีการสัมพันธ์ที่ดีแก่ลูกค้าได้เช่นกัน
  3. การตลาดเชิงสังคม – การตลาดที่คิดถึงสังคมโดยคิดถึงผลิตภัณฑ์หรือการบริการต่อลูกค้าให้มีคุณภาพและปลอดภัยในทุกกระบวนการตั้งแต่ตัวผลิตภัณฑ์ ไปจนถึง การขายผลิตภัณฑ์สู่ลูกค้า
  4. การสร้างตราสินค้า – เพื่อแสดงให้ถึงสัญลักษณ์ของธุรกิจและผลิตภัณฑ์ของเรา ให้ลูกค้าได้เห็นถึงหลักการของธุรกิจผ่านทางตราผลิตภัณฑ์หรือแบรนด์ของผลิตภัณฑ์

ซึ่งทำให้เห็นได้ว่าธุรกิจการตลาดในปัจจุบันได้มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากในเรื่องการให้ความสำคัญตั้งแต่การผลิตตัวผลิตภัณฑ์ไปจนถึงการขายผลิตภัณฑ์ให้แก่ลูกค้า หรือการบริการลูกค้าให้ดีเป็นอันดับแรกและให้ความสำคัญในเรื่องความสัมพันธ์ทั้งภายในและภายนอกของธุรกิจ